เมนู

ท่านทั้งหลายจงพากันฝักใฝ่เถิด ซึ่งพระสมาธิอันประเสริฐ ภิกษุรูปใดได้จำเริญพระสมาธิอัน
เลิศนี้จะดีนักหนา ปชานาติ จะตรัสรู้มรรคและผลและไตรวิชชาสมาบัติ ยถาภูตํ เที่ยงแท้ดังนี้
นี่แหละพระพุทธฎีกาโปรดไว้ จงทราบในพระบวรราชสันดานด้วยประการดังนี้
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ก็มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็น
เจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
สมาธิลักขณปัญหา คำรบ 13 จบเท่านี้

ปัญญาลักขณปัญหา ที่ 14


ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
ผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ปัญญานี้เล่ามีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนจึงถวายพระพรตอบไปว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปัญญา
นี้มีลักษณะตัดรอน อาตมาได้ถวายพระพรแล้ว บัดนี้ทรงถามอีกก็จะต้องวิสัชนาอีก ปัญญา
นี้มีลักษณะโอภาส
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสว่า ปัญญามีลักษณะโอภาสอย่างไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปัญญาโอภาสนั้น
เมื่อจะบังเกิดย่อมกำจัดอนธการอันมืดมัวคือตัวอวิชชาชาติ จึงให้วิชชาโอภาสบังเกิดส่องสว่าง
ืคือรู้ไปในธรรมแล้วมีปัญญาเล่า ก็คือปัญญาผ่องแผ้วสว่างกระจ่างแจ้ง พิจารณาเห็นองค์แห่ง
พระอริยสัจสันทัดแน่นอน ลำดับนั้นพระโยคาวจรพิจารณาซึ่งสังขารก็เห็นเป็น ทุกฺขํ บ้างเห็นเป็น
อนิจฺจํ บ้าง เห็นเป็น อนตฺตา บ้าง ด้วยโอภาสลักขณะ ปัญญาเห็นสว่างกระจ่างมาแต่พระอริยสัจ
นั้นอย่างนี้ชื่อว่าโอภาสลักขณปัญญา ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
กระทำอุปมาไปก่อน
พระนาคเสนก็ถวายพระพรอุปมว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ยิ่งมิ่งมไหศวรรย์ เปรียบปานดุจบุรุาผู้หนึ่งนั้นจุดประทีปคันและเทียนส่องเข้าไปในห้องเรือน

อันมืดมนอนธการ ก็ชัชวาลสว่างกระจ่างแจ้งแลเห็นรูปต่าง ๆ เป็นต้นว่าถ้วยโถโอจานพาน
ภาชนะอันตั้งเรียงเคียงกัน ยถา มีอรุวนาฉันใด โอภาสลักขณปัญญานี้ไซร้ อุปฺปชฺชมานา เมื่อจะ
บังเกิดในสันดานท่านผู้เป็นโยคาวจรนั้น ก็กำจัดเสียซึ่งมืดคืออวิชชาอันบังปัญญามิให้รู้ธรรม
ยังวิชโชภาสอันสุกใสไพโรจน์คือ วิชชาอันจะรู้ไปในธรรมนั้นให้สว่างกระจ่างแจ้ง ยังญาณาโลก
ให้สว่างไสว ก็เห็นแจ้งในพระอริยสัจทั้ง 4 ทีนั้นพระโยคาวจรเจ้าก็เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณ
ว่า อนิจฺจนฺติ วา เป็นอนิจจังบ้าง ทุกฺขนฺติ วา เป็นทุกขังบ้าง อนตตาติ วา เป็นอนัตตาบ้าง
อย่างนี้แหละชื่อว่าโอภาสลักขณปัญญา ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ทรงฟังอุปมาฉะนี้ก็มีน้ำพระทัยหรรษา จึงตรัส
สาธุการว่าพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรอยู่แล้ว
ปัญญาลักขณปัญหา คำรบ 14 จบเท่านี้

นานาเอกกิจจกรณปัญหา ที่ 15


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชา อิเม ธมฺมา อันว่ากุศลธรรมทั้งหลายนี้ มีสันดานต่าง ๆ
กัน ให้สำเร็จซึ่งประโยชน์อันเดียวกันหรือ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า กระนั้นแหละมหาบพิตร ธรรมทั้งหลายมีสันดานต่างกัน
ให้สำเร็จประโยชน์อันเดียว แล้วฆ่าเสียซึ่งกิเลสด้วย ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเข้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงนิมนต์ให้พระนาคเสนกระทำอุปมา
พระนาคเสนผู้ปรีชาก็กระทำอุปมาอุปไมยว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานประดุจเสนาจตุรงค์แห่งองค์สมเด็จบรมกษัตริย์อันยกไปปราบปัจจามิตรหมู่
อรินทรราชอันราวี ฝ่ายจตุรงคเสนาทั้ง 4 คือ เสนาช้าง เสนาม้า เสนารถ เสนบทบาทเปล่า
เหล่านี้ต่างกัน กระทำสงครามได้อันเดียวคือ ชนะศึกอันเดียว แล้วก็ฆ่าเสียซึ่งหมู่ปัจจามิตรทั้ง
หลายนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายนี้ไซร้ มีสันดานต่างกัน มีลักษณะต่างกัน ให้
สำเร็จประโยชน์สิ่งเดียว แล้วฆ่าเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายให้ประลัย อุปไมยเหมือนจตุรงคเสนีมีสัน
ดานต่างกัน ชนะสงครามอันเดียว แล้วฆ่าเสียซึ่งข้าศึกนั้น